เมื่อวาน
ได้ไปดูหนังเรื่องนี้มา
ยักษ์
(Yak)
ด้วยวิธีการปกติ
คือซื้อบัตร
(แต่ใช้คะแนบัตรเครดิตแลก หึหึ
-มันเป็นข้อดีไม่กี่อย่างที่ข้าพเจ้าชอบ
เกี่ยวกับบัตรเครดิต-)
ความจริงข้าพเจ้าก็ไม่พิสมัยการดูหนังเท่าใดนัก
และไม่คิดจะอยากดูหนังเรื่องนี้
เพราะคิดว่า
ก็คงไม่มีอะไรใหม่
พูดถึงเรื่องเทคนิคการทำการ์ตูน
ก็เทียบได้กับคุณภาพการ์ตูนต่างประเทศได้อย่างสบาย ๆ
รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์
อันนำเอาเรื่องราว
เกี่ยวกับรามเกียรติ์
มาตีความและสร้างเป็นการ์ตูน
รวมถึง
การทำให้เป็นหุ่นกระป๋อง
ก็ถือว่า
อยู่ในระดับชั้นแนวหน้า
เรียกง่าย ๆ ว่า
ฝีมือการทำหนัง
ไม่ด้อยกว่าใครในโลกนี้
แต่สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกขัดใจสองอย่างก็คือ
ประการแรก
เสียงพากย์หนุมาน
ข้าพเจ้าเข้าใจว่า
เป็นเสียง เสนาหอย
(แต่มีลักษณะการพูดจากวน ๆ แบบ โน้ส อุดม)
ความรู้สึกที่ได้ยินเสียงแบบนี้ในตัวละครที่มีบุคลิกแบบนี้
มันรู้สึกเหมือนกับว่า
ไม่กลมกล่อม
เสียงทศกัณฐ์ หรือ น้าเขียว นั้นพอไปได้
แม้มีบางช่วงที่แปลกแปร่งนิด ๆ
แต่ก็ยอมรับได้
ถ้าถามว่า ข้อใดไม่เข้าพวก
ก็ต้องเป็นเสียงหนุมาน
เสียงของ สนิม เป็นเสียงที่ข้าพเจ้าคิดว่า
ลงตัว
และเหมาะสม เข้ากับบุคลิกที่สุด
และเป็นมืออาชีพที่สุด
คือเวลาที่คนพากย์ พูดบท สนิม
เราจะรู้สึกเหมือนกับว่า
สนิมที่เป็นตัวการ์ตูนนั้น พูดจาได้จริง ๆ
ต่างกับตัวหนุมาน
ซึ่งฟัง ๆ ไปแล้ว
เรารู้เลยว่า
มันเป็น เสียงพากย์
คือไม่ใช่ตัวตนของการ์ตูน
ฟังดูประดักประเดิด
ไม่เข้าเนื้อเข้าน้ำ
เรียกง่าย ๆ ว่า
ไม่มีความเป็นมืออาชีพ
ในแง่ของการพากย์การ์ตูน
ประการที่สอง
การ์ตูนดำเนินเรื่องได้ดี
และดีมาเรื่อย ๆ
จนกระทั่ง
สุดท้าย
ถ้าพูดสำนวนเก่า ๆ โบร้าโบราณหน่อย
ก็ต้องพูดว่า
ตกม้าตายตอนจบ
คือตอนที่หนุมาน (เผือก)
มาสรุปว่า
แท้แล้ว
ทุกคนก็มี "ยักษ์" อยู่ในตัว
หรือถ้าจะให้พูดตามในหนังก็คือ
ยักษ์ มีอยู่ในตัวทุกคน
ความจริงแล้ว
หนังได้ "แสดง" ให้ดูตั้งแต่ตอนที่
"น้าเขียว" ทำลาย "ทศกัณฐ์" แล้วว่า
ยักษ์ที่แท้จริงอยู่ที่ไหน
ไม่ต้องเอามาสรุปให้ฟังอีกก็ได้
ข้าพเจ้าคิดว่า
คนสร้างหนังนั้นรู้ดี
เกี่ยวกับ "ปรัชญา" ของการทำหนังที่ว่า
"Show don't Tell"
แต่หนังเรื่องนี้
เลือกที่จะโชว์ และ Tell ด้วย
ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ
หนีไม่พ้นขนบนิทานอีสป
ที่ต้องมาสรุปตอนท้าย
"นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า..."
ซึ่งแท้แล้ว
ไม่จำเป็น!
การ์ตูนระดับโลกหลายต่อหลายเรื่อง
ปราศจากลักษณาการเช่นนี้
ก็ได้รับการยอมรับว่า
เป็นการ์ตูนที่ดี
การมีแบบนี้เสียอีก
ที่ทำให้คุณค่าของมัน
"ด้อย" ลงไป
(และยิ่งดูอ่อนด้อยถ้าคุณจะเอาไปฉายในระดับสากล)
เพราะคนทำมัวแต่คิดว่า
ต้อง "สั่งสอน"
คือยึดติดอยู่กับค่านิยมเก่าแก่
โบร่ำโบราณ (ของไทย?)
และชอบคิดว่า
คนอื่น
หาสาระจากหนังไม่เป็น
จึงต้อง "ป้อน" ต้อง "ยัด" กันเข้ามา
แน่นอน
เราอาจจะมีข้อแก้ตัวให้ว่า
ก็เขาทำให้เด็กดู
การ์ตูนทั้งโลกก็ทำให้เด็กดูแทบจะทั้งนั้น
(ยกเว้นการ์ตูนที่เขาทำมาให้เฉพาะผู้ใหญ่ อันนี้ตัดไป)
เราดูการ์ตูนทั้งของฝั่งเอเชีย ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งอื่น ๆ
เขาก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องมีมายัดเยียดอะไรอย่างนี้ซ้ำซากน่าเบื่อ
และพลอยทำให้เด็กเบื่อการ์ตูน (ไทย)
เพราะมีแต่การจะสั่งสอนป้อนข้อคิดอยู่ท่าเดียว
เราให้ผู้ปกครองเอาไปอภิปรายกับเด็กก็ได้
หรือจะเอาไปให้ครูตั้งเป็นหัวข้อสนทนาก็ได้
หรืออะไรอื่น ๆ อีกก็ได้
ถ้าเราอยากให้มีการ "คิดต่อ" หรือ "คิดเป็น"
(ซึ่งจริง ๆ แล้ว หากทำอย่างที่ว่า
เราอาจจะประหลาดใจกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ
ในแง่ที่เขาได้จากการ์ตูนมากกว่าที่เราคิดว่าเขาควรจะได้เสียอีก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องไม่ลืมว่า
การ์ตูนนั้นสร้างมาเพื่อ
"ความบันเทิง"
เป็นหลัก
และถ้าเด็กดูแล้วเขาคิดอะไรไม่ได้
หรือดูแล้วบอกได้แค่ว่า สนุก หรือ ไม่สนุก
ก็ไม่ได้หมายความว่า
เด็กคนนั้น "โง่"
หรือเลวทรามต่ำช้าแต่อย่างใด)
ก็เพราะอะไรที่มันเป็นอย่างนี้
สื่อ ทั้งหนัง ทั้งหนังสือ ทั้งการเรียนการสอน ทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน ทีวี ฯลฯ
(อย่าว่า ขนาดละครเรยา ยังเอาพระมาเทศน์ปิดท้ายมาแล้ว
คือคิดว่าชาวบ้านมันโง่ขนาดนั้นเลยหรือ ที่จะไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรคือละคร อะไรคือชีวิตจริง
อะไรดีอะไรชั่ว)
ก็อีหรอบนี้
เด็กไทย
ก็เลยคิดห่าอะไรไม่เป็นสักที
แม้กระทั่งการ์ตูนที่มีความคิด "นอกกรอบ"
ยังมาจำกัด "กรอบ" เสียเอง
ไม่ต่างจากชนชั้นปกครองของรัฐ
ที่ตั้งใจ "ขังคอก" คนไทย
และป้อนหญ้าเป็นอาหาร
อย่าหืออย่าอือ
ทำทุกอย่างตามที่ถูกกำหนด
แล้วชีวิตของท่าน
ประเทศของท่าน
จะดีเอง
เอวัง
Arty House
08 10 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น