วันนี้ว่าด้วยเรื่อง หนังสือ
ที่ข้าพเจ้าเคยเป็นบรรณาธิการให้
ชื่อว่า
"คู่มือคุณพ่อ"
เล่มนี้เขียนโดยหมอชาวเกาหลี
โดยทฤษฏีหรือตัวบทแล้ว
มันก็เป็นเนื้อหาทางจิตวิทยา
ว่าด้วยการเลี้ยงลูกธรรมดา
แต่ที่แตกต่างคือ
มันอิงด้วยวัฒนธรรมเกาหลี
ข้าพเจ้าชอบอ่านหนังสือประเภทนี้อยู่พอสมควร
เคยอ่านเล่มหนึ่ง
ของฝรั่งเขียน
วิธีการพูดคุยกับลูก
(อะไรเทือกนี้แหละ ลืมชื่อจริง ๆ มันแล้ว)
(อะไรเทือกนี้แหละ ลืมชื่อจริง ๆ มันแล้ว)
ซึ่งมันก็ไม่ต่างจากเล่มนี้
ว่ากันโดยเนื้อหา
เช่นว่า
เวลาลูกโกรธต้องพูดกับลูกว่าอย่างไร
เวลาลูกเป็นอย่างนี้อย่างนั้นต้องทำอย่างไร
ซึ่งว่ากันตามหลักวิชาจิตวิทยา
(ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่ามันคล้ายหลักพระพุทธศาสนา)
(ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่ามันคล้ายหลักพระพุทธศาสนา)
ข้าพเจ้าเคยเอากลยุทธ์พวกนี้ไปใช้
ในการจัดการกับเด็กที่มาทำฟัน
ก็ปรากฏว่า
ได้ผล
เพราะวิชาพวกนี้เขาทำวิจัยกันมาแล้วทั้งนั้น
ได้ผลมากกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์
ส่วน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ
ก็ต้องอิงเอากับอย่างอื่น
คือว่าก็ว่า
โลกนี้มันไม่มีทฤษฎีไหนถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์
ในเล่มนี้ใช้ภาษาง่าย ๆ
อ่านสนุก
มีการ์ตูนสอดแทรกเพื่อความเข้าใจด้วย
ไอ้การ์ตูนนี่
ข้าพเจ้าก็แอบใส่มุกเข้าไปบ้าง
(ฮา)
คือทำงานเกินหน้าที่ว่างั้นเหอะ
ความจริงข้าพเจ้าก็ชอบทำงานเกินหน้าที่
บางถ้อยคำข้าพเจ้าก็จัดการพิสูจน์อักษรให้มันด้วยเสียเลย
(ด้วยเหตุนี้นานมีบุ๊คส์อาจจะไม่จ้างข้าพเจ้าอีกต่อไปแล้วก็ได้ 555)
หนังสือประเภทอย่างนี้
ใช่ว่าจะให้พ่ออ่านอย่างเดียวเท่านั้น
แม่ก็ควรอ่านด้วย
ซึ่งนั่นหมายความว่า
คู่มือเลี้ยงลูกทั้งหลายของคุณแม่
พ่อก็ควรอ่านด้วยเช่นกัน
ส่วนประชาชนธรรมดา
ก็ควรอ่าน
เพราะหนังสือพวกนี้
หากพิจารณาเนื้อหาดี ๆ
มันก็เอามาประยุกต์ใช้กับชีวิตได้
มีโจ๊กอยู่เรื่องหนึ่ง
ของฝรั่ง
เด็กหญิงหน้าตาน่ารัก
นั่งอ่านหนังสือ
ว่าด้วยการเลี้ยงลูกที่ถูกต้องอยู่
คุณแม่เธอเดินมาเห็นเข้า
ก็ตกใจ
นึกไปเสียไกลว่า
เกิดอะไรขึ้นกับลูก
"นี่ลูก ลูกอ่านหนังสืออย่างนี้เพื่ออะไร ลูกยังเป็นเด็กอยู่นะ"
"ก็หนูจะได้รู้ไงคะ ว่าแม่เลี้ยงหนูมาอย่างถูกต้องหรือเปล่า"
(ฮา)
ไม่รู้ว่าประเทศโลกที่สามอย่างประเทศไทย
มีหนังสืออย่างนี้อยู่ในตลาดอยู่กี่มากน้อย
ทั้งที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เรา
ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติอื่น
อาจมีแต่ข้าพเจ้าไม่เห็น
หรืออาจเคยเห็นแต่ไม่ได้ใส่ใจ
ที่ว่าหนังสืออย่างนี้ก็คือ
หนังสือที่เขียนออกมาเป็นเล่ม
(ไม่ใช่นิตยสารประเภทรักลูก
เพราะนิตยสารนั้น เนื้อหามันไม่ค่อยสมบูรณ์
ไม่เป็นเรื่องเป็นราว)
และเขียนโดยคนไทย
ที่อิงวัฒนธรรมไทย
ว่าด้วยการเลี้ยงลูกอย่างถูกต้อง
ไม่ใช่หนังสือแปลมาทั้งดุ้น
แล้วบรรยากาศ
ชื่อตัวละคร
สถานที่กาลเวลา
แม้กระทั่งมุกตลก
ก็เป็นของต่างชาติ
อ่านแล้วมันไม่อิน
ถ้าเราจะยังคิดว่า
สถาบันครอบครัว
คือสถาบันที่สำคัญที่สุด
ในการปลูกสร้างเด็ก
เราก็ควรมีหนังสืออย่างนี้ให้มาก
ไม่ใช่เอะอะ
ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ครู
หน้าที่โรงเรียน
พอเกิดปัญหาขึ้นมา
ก็โทษรัฐบาล
มีหลายคนในประเทศนี้
ที่เป็นคนดี มีชื่อเสียง เป็นที่ยกย่อง
แต่เลี้ยงลูกได้ไม่เอาไหน
ถามว่า
บุคคลเช่นนี้เราควรจะเชื่อเขาหรือ
แค่ลูกตัวเองยังดูแลไม่ได้
ก็มีโจ๊กอีกแหละ
ของฝรั่ง
ลูกจะออกไปเดินรณรงค์อะไรสักอย่าง
จำพวกจิตอาสา ลดโลกร้อน ต่อต้านโน่นนี่
แม่ก็พูดกับลูกว่า
"เออเนี่ย ก่อนที่ลูกจะออกไปเดินรณรงค์น่ะ
ช่วยจัดห้องตัวเองให้เรียบร้อยก่อนได้มั้ย"
(ฮา)
คนประเภทนี้มีอยู่มากในสังคมไทย
คือดูแต่คนอื่น
ไม่ดูตัวเอง
ออกไปกินอยู่หลับนอนในม็อบ
ต่อสู้บ้าคลั่งเพื่ออุดมการณ์อย่างนั้นอย่างนี้
แต่ครอบครัวเหลวแหลก
ชีวิตคู่ ชีวิตส่วนตัว ไม่ได้เรื่อง
แล้วยังจะเสือกไปเรียกร้องนั่นนู่นนี่
คนไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง
อ้างว่าทำเพื่อชาติ ๆ
อย่างนี้ทำไปตลอดทั้งชาตินี้และชาติหน้า
มันก็เสียหายกันทั้งชาติวันยังค่ำ
แล้วถามว่า
ทำไมเราต้องไปรู้วิธีเลี้ยงลูกให้ถูกต้อง
ที่เลี้ยง ๆ กันมานี่
มันก็ไม่เห็นตาย
มันก็อยู่ได้
เป็นคนมาทุกวันนี้
ก็แล้วยังไงล่ะ
ประเทศไทยมันถึงง่อยอย่างที่เห็น
อยากถามกลับจริง ๆ
ธัชชัย ธัญญาวัลย
๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
มีโจ๊กอยู่เรื่องหนึ่ง
ของฝรั่ง
เด็กหญิงหน้าตาน่ารัก
นั่งอ่านหนังสือ
ว่าด้วยการเลี้ยงลูกที่ถูกต้องอยู่
คุณแม่เธอเดินมาเห็นเข้า
ก็ตกใจ
นึกไปเสียไกลว่า
เกิดอะไรขึ้นกับลูก
"นี่ลูก ลูกอ่านหนังสืออย่างนี้เพื่ออะไร ลูกยังเป็นเด็กอยู่นะ"
"ก็หนูจะได้รู้ไงคะ ว่าแม่เลี้ยงหนูมาอย่างถูกต้องหรือเปล่า"
(ฮา)
ไม่รู้ว่าประเทศโลกที่สามอย่างประเทศไทย
มีหนังสืออย่างนี้อยู่ในตลาดอยู่กี่มากน้อย
ทั้งที่วิวัฒนาการทางการแพทย์เรา
ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติอื่น
อาจมีแต่ข้าพเจ้าไม่เห็น
หรืออาจเคยเห็นแต่ไม่ได้ใส่ใจ
ที่ว่าหนังสืออย่างนี้ก็คือ
หนังสือที่เขียนออกมาเป็นเล่ม
(ไม่ใช่นิตยสารประเภทรักลูก
เพราะนิตยสารนั้น เนื้อหามันไม่ค่อยสมบูรณ์
ไม่เป็นเรื่องเป็นราว)
และเขียนโดยคนไทย
ที่อิงวัฒนธรรมไทย
ว่าด้วยการเลี้ยงลูกอย่างถูกต้อง
ไม่ใช่หนังสือแปลมาทั้งดุ้น
แล้วบรรยากาศ
ชื่อตัวละคร
สถานที่กาลเวลา
แม้กระทั่งมุกตลก
ก็เป็นของต่างชาติ
อ่านแล้วมันไม่อิน
ถ้าเราจะยังคิดว่า
สถาบันครอบครัว
คือสถาบันที่สำคัญที่สุด
ในการปลูกสร้างเด็ก
เราก็ควรมีหนังสืออย่างนี้ให้มาก
ไม่ใช่เอะอะ
ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ครู
หน้าที่โรงเรียน
พอเกิดปัญหาขึ้นมา
ก็โทษรัฐบาล
มีหลายคนในประเทศนี้
ที่เป็นคนดี มีชื่อเสียง เป็นที่ยกย่อง
แต่เลี้ยงลูกได้ไม่เอาไหน
ถามว่า
บุคคลเช่นนี้เราควรจะเชื่อเขาหรือ
แค่ลูกตัวเองยังดูแลไม่ได้
ก็มีโจ๊กอีกแหละ
ของฝรั่ง
ลูกจะออกไปเดินรณรงค์อะไรสักอย่าง
จำพวกจิตอาสา ลดโลกร้อน ต่อต้านโน่นนี่
แม่ก็พูดกับลูกว่า
"เออเนี่ย ก่อนที่ลูกจะออกไปเดินรณรงค์น่ะ
ช่วยจัดห้องตัวเองให้เรียบร้อยก่อนได้มั้ย"
(ฮา)
คนประเภทนี้มีอยู่มากในสังคมไทย
คือดูแต่คนอื่น
ไม่ดูตัวเอง
ออกไปกินอยู่หลับนอนในม็อบ
ต่อสู้บ้าคลั่งเพื่ออุดมการณ์อย่างนั้นอย่างนี้
แต่ครอบครัวเหลวแหลก
ชีวิตคู่ ชีวิตส่วนตัว ไม่ได้เรื่อง
แล้วยังจะเสือกไปเรียกร้องนั่นนู่นนี่
คนไม่รู้จักหน้าที่ของตัวเอง
อ้างว่าทำเพื่อชาติ ๆ
อย่างนี้ทำไปตลอดทั้งชาตินี้และชาติหน้า
มันก็เสียหายกันทั้งชาติวันยังค่ำ
แล้วถามว่า
ทำไมเราต้องไปรู้วิธีเลี้ยงลูกให้ถูกต้อง
ที่เลี้ยง ๆ กันมานี่
มันก็ไม่เห็นตาย
มันก็อยู่ได้
เป็นคนมาทุกวันนี้
ก็แล้วยังไงล่ะ
ประเทศไทยมันถึงง่อยอย่างที่เห็น
อยากถามกลับจริง ๆ
ธัชชัย ธัญญาวัลย
๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น